วัดถ้ำคีรีธรรม
ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่สักการะขอพร
เที่ยววัดทำบุญ ณ วัดถ้ำคีรีธรรม จังหวัดกาญจนบุรี
จุดที่ ๑ สักการะขอพรองค์พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
จุดที่ ๒ ไหว้ขอพรปู่ท้าวเวสสุวรรณ
จุดที่ ๓ ไหว้ขอพรองค์ปู่นิลกาฬนาคราช องค์แม่ย่ากัญญาวดีนาคีเทวี
จุดที่ ๔ อาบน้ำขอพรองค์ปู่นิลกาฬนาคราช
จุดที่ ๕ ขึ้นถ้ำขอพรปู่ย่า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จุดที่ ๖ สักการะขอพรพระประธานภายในโบสถ์มหาอุตม์
จุดที่ ๗ สักการะขอพรพระนาคปรกประจำวันเกิด
จุดที่ ๘ ขอพรพระแม่ธรณี
จุดที่ ๙ สักการะขอพรพระประธานองค์ใหญ่
จุดที่ ๑๐ สักการะขอพรพระสีวลี
จุดที่ ๑๑ สักการะขอพรหลวงปู่เทพโลกอุดร
จุดที่ ๑๒ ขึ้นถ้ำขอพรปู่ย่า และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
จุดที่ ๑๓ ขอพรสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
จุดที่ ๑๔ ให้อาหารสัตว์
เวลาเปิดทำการ
สามารถเดินทางมาได้ทุกวัน - ตลอดเวลา
เวลาเปิด-ปิดถ้ำ
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๐๘:๐๐ น. - ๑๖:๐๐ น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๘:๐๐ น. - ๑๗:๐๐ น.
จุดที่ ๑ สักการะขอพรองค์พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
พระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่า จำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายใน
มหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน
ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับ พระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อน
พุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้
พระตัณหังกรพุทธเจ้า
พระสรณังกรพุทธเจ้า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระสุมนพุทธเจ้า
พระโสภิตพุทธเจ้า
พระปทุมพุทธเจ้า
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระสุชาตพุทธเจ้า
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระปุสสพุทธเจ้า
พระสิขีพุทธเจ้า
พระกกุสันธพุทธเจ้า
พระกัสสปพุทธเจ้า
พระเมธังกรพุทธเจ้า
พระทีปังกรพุทธเจ้า
พระมังคลพุทธเจ้า
พระเรวตพุทธเจ้า
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระนารทพุทธเจ้า
พระสุเมธพุทธเจ้า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า
พระติสสพุทธเจ้า
พระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระเวสสภูพุทธเจ้า
พระโกนาคมนพุทธเจ้า
พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
จุดที่ ๒ ขอพรปู่ท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ อธิบดีแห่งอสูร โดย เป็นเทพผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา และ เป็นเทพผู้คุ้มครองโลกมนุษย์
คอยปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิต อีกทั้งยังเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภที่มีขุมทรัพย์มหาศาล ท่านได้ปรากฏอยู่ในหลายความเชื่อทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นท้าวกุเวร
ของอินเดียใต้ พระซัมภลของทิเบต หรือ ตัวเหวินเทียนหวังของจีน ทำให้ท่านเป็นเทพองค์หนึ่งที่เป็นที่เคารพนับถือในหลาย ๆ ประเทศ
ท้าวเวสสุวรรณมี ๒ รูปลักษณ์
สิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่ทราบ คือ ท้าวเวสสุวรรณ มี ๒ องค์ ได้แก่
- ท้าวเวสสุวรรณ ที่มีองค์เป็นยักษ์ ยืนถือกระบองยาว และ โล่แก้ว ประพาฬ มีบริวารแสนโกฏิ ทำหน้าที่รักษาความเรียบร้อย และ ความยุติธรรมใน สวรรค์โดยถูกนำมาเป็นสัญสัญลักษณ์ของอัยการมากว่า ๑๐๐ ปี
- ท้าวเวสสุววรณ ที่ปรากฏในร่างมนุษย์ ที่เป็นชายพุงพลุ้ยซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง เป็นเจ้าแห่งเงินทอง ซึ่งผู้คนเชื่อว่าการบูชาจะเพิ่มโชคลาภ ทำให้มีกินมีใช้ไม่ขาด
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
ท่องนะโม ๓ จบ
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต
นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
จุดที่ ๓ ขอพรองค์บู๊นิลกาฬนาคราช องค์แม่ย่ากัญญาวดีนาคีเทวี
องค์เจ้าย่านาคกัลยาณี และ พญานาค ๙ ตระกูล
"พญานาคสีดำ" จัดอยู่ใน "ตระกูลกัณหาโคตะมะ" เป็นตระกูลนาคที่มีผิวกาย
หรือเกล็ดเป็น "สีดำนิลกาฬมหิธร" ถือกำเนิดแบบสังเสทชะ คือ เกิดจากเหงื่อ
ไคล และสิ่งหมักหมมต่างๆ หรือ แบบอัณฑชะคือเกิดจากไข่ มักมีร่างกายกำยำ
บึกบึน มักจะมีหน้าที่เฝ้าสมบัติของเมืองบาดาล และแม้จะเกิดในตระกูลที่ต่ำ
กว่าตระกูลอื่น แต่หากหมั่นบำเพ็ญเพียรจนมากญาณบารมี ก็สามารถเป็น
พญานาคขั้นปกครองได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังได้แบ่งพญานาคออกเป็นตระกูล
ย่อยๆ อีกถึง 1,024 ชนิด คือพวกสัตว์เลื้อยคลานประเภทงู ทั้งที่เป็นงูเห่า งู
จงอาง งูเหลือม และงูทุกชนิดถือว่าเป็นลูกหลานของพญานาคทั้งสิ้น
มีความเชื่อกันว่า หากได้บูชา พญานาคราช สีดำ ก็จะช่วยเสริมอำนาจวาสนา
บารมี บันดาลโชคลาภ ขจัดสิ่งชั่วร้ายและมนต์ดำต่างๆ
บทบูชา องค์พญานิลกาฬนาคราช
อุกาสะ อุกาสะ อุกาสะ
ขอให้กลิ่นธูปแสงรูปจงล่องลอยไปสัมผัสจิตทิพย์
ญาณทิพย์พญานิลกาฬนาคราช ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)
ขอนอบน้อมกราบสักการะบุชาพญานิลกาฬนาคราช
เอ วังสะ วิเวนาคะ วังสะ วิเว พุทธังเปิด ธัมมังเปิด สังฆังเปิด
ขอพลังบารมีพญานิลกาฬนาคราช ได้โปรด เปิดโชค เปิดลาภ
เปิดอำนาจวาสนา เปิดการงาน การเงิน ให้เจริญรุ่งเรือง
อย่าติดอย่าขัด ด้วยอำนาจบารมีพญานิลกาฬนาคราช
ได้โปรดดลบันดาล ให้สำเร็จ สำเร็จ สำเร็จด้วย นะโมพุทธายะ มะอะอุ จงสำเร็จ
ในบัดดล สาธุ
จุดที่ ๔ อาบน้ำองค์ปูนิลกาฬนาคราช
วิธีการอาบน้ำปูนิลกาฬเพื่อขอพร ทำสมาธิให้นิ่ง อธิษฐานขอพร คนละ ๑ ข้อ
ห้ามบนบาน เสร็จแล้วนำน้ำรดลงที่ลำตัวป์นิลกาฬ โดยการรดน้ำจะไม่รดย้อน
เกล็ด ห้ามนำมือลูบเกล็ดหรือลำตัวปูนิลกาฬ แล้วเหลือน้ำไว้กันขวดเพื่อนำกลับ
บ้านเสริมความเป็นสิริมงคล
ปล.สตรีมีครรภ์และสตรีที่มีรอบเดือนห้ามขึ้นอาบน้ำปูนิลกาฬ
จุดที่ ๕ พระธาตุอินทร์แขวน ก้อนหินแห่งศรัทธา
ลักษณะเด่นของพระธาตุอินทร์แขวนเป็นลักษณะสีทองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บน
หน้าผาสูงชันที่มีความมหัศจรรย์ ตรงที่ก้อนหินนั้นไม่ตกลงสู่เบื้องล่าง โดยมี
ความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณว่าพระอินทร์ได้เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์เพื่อนำ
พระธาตุมาวางไว้ที่ยอดผา เพื่อให้ผู้คนได้มาเคารพสักการะ และยังมีเจดีย์ที่
สร้างไว้บนก้อนหิน ที่จำลองให้เป็นพระเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปี
จอ ที่ใครเกิดปีนี้ต้องหาโอกาสไปนมัสการสักครั้งหนึ่งในชีวิต
ความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุอินทร์แขวน
การได้มานมัสการพระธาตุอินทร์แขวน ก็เหมือนกับได้นมัสการต่อหน้าพระเกศ
แก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ และยังเชื่อว่า ถ้าผู้ใดได้มานมัสการพระธาตุอินทร์
แขวนครบ 3 ครั้ง ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ พร้อมทั้งขอสิ่งใดก็จะได้สมดัง
ปรารถนาทุกประการ
คาถาสักการะพระธาตุอินทร์แขวน
ตั้งนะโม ๓ จบ
ตาวะติงสาปเร รัมเม เกสา จุฬามะณี สะรีระปัพพะตะตา ปู่ชิตา
สัพพะเทวานัง ตง สิระสา ธาตุ มุตตะมัง อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ
เต อุปาสะกา ตะปุสสะโก จะผัลลิโก จะ พุทธัสสะ เกสะ
ชัมภูทีป่ายะ อาหะริตตะวา อินทะเกสะปัพพะตะเจติเย
ปะติฏฐันติ วันทามิ ภันเต อินทะเกสะคริง วันทิยันโต,
อันตะรายา วินัสสันตุโหตุ โสตถิง จะ เตชะสา
โลเก รัฏฐัง สุขัง เสติ นิมมะลัง สัพพะสาสะนัง
ทีฆายุกา ปะชา สัพเพ อะนีฆา นิรุปปัททะวาติฯ
จุดที่ ๖ สักการะขอพรพระประธานภายในโบสถ์มหาอุตม์
ประวัติ "พระพุทธชินราช" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพิษณุโลก
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ไม่ปรากฏ
หลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนินนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัย
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย หรือราวปี พ.ศ. ๑๙๐๐ นอกจากนี้
องค์พระพุทธชินราชยังเป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างองค์จำลองมากที่สุด โดย
เฉพาะพระเครื่องวัตถุมงคล เช่น พระพุทธชินราชใบเสมา, พระพุทธชินราชอิน
โดจีน ฯลฯ โดยไม่ว่าจะเป็นองค์พระพุทธรูป หรือพระเครื่องพระพุทธชินราช
แบบห้อยคอ ก็ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้สวมใส่และบูชา
คาถาบูชาพระพุทธชินราช
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
อิเมหิ นานา สักกาเรหิ อภิปูซิเตหิ ทีกายุโก โหมิ
อะโรโค สุขิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกัมมัง ปียัง มะมะ
ประสิทธิลาโภ ชะโย โหตุ สัพพัททา พุทธชินะราชา
อภิปะเลตุ มัง นะโมพุทธายะ
คาถาบูชาพระพุทธชินราช ขอพรเรื่องอะไร?
พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่คนไทยจำนวนมากเดินทางไปสักการะบูชา
ไม่ขาดสาย และมักไหว้ขอพรเรื่องต่างๆ เพื่อเสริมสิริมงคลในชีวิตให้เจริญ
รุ่งเรือง โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมขอพรให้หายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บ บ้างก็ขอ
ให้ช่วยปกป้องคุ้มครองครอบครัวให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรง

จุดที่ ๗ สักการะขอพรพระนาคปรกประจำวันเกิด
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิด ทั้ง ๗ วัน แบบย่อ สวดตามกำลังวัน สวดก่อนนอน
เชื่อว่าจะช่วยเสริมดวง และเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันอาทิตย์ (สวด ๖ จบ)
อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันจันทร์(สวด ๑๕ จบ)
อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันอังคาร (สวดวันละ ๘ จบ)
ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันพุธกลางวัน (สวด ๑๗ จบ)
ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันพุธกลางคืน (๑๒ จบ)
คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันพฤหัสบดี (สวด ๑๙ จบ)
ภะ สัม สัม วิ สะ เท กะ
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันศุกร์ (สวด ๒๑ จบ)
วา โธ โน อะ มะ มะ วา
บทสวดมนต์ประจำวันวันเกิด วันเสาร์ (สวด ๑๐ จบ)
โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ
จุดที่ ๘ ขอพรพระแม่ธรณี
พระธรณี, พระแม่ธรณี หรือ พระศรีวสุนธราเป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
พระแม่ธรณี ชื่อนี้มีปรากฏในพุทธประวัติมาอย่างช้านาน และยังปรากฏในวรรณคดีไทยอีกหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น นางพระธรณี พระแม่วสุนธราพสุธา ต่างก็มีความหมายเดียวกัน คือ
ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ หรืออีกนัยยะ ยังหมายถึงความมั่นคง และแผ่นดิน อีกด้วย ดังนั้นการสวดคาถาบูชาพระแม่ธรณี จึงเชื่อกันว่า จะทำมาซึ่งความมั่นคงประสบความสำเร็จ ชนะอุปสรรคทั้งปวง
พระแม่ธรณีบีบมวยผม
ลักษณะของพระแม่ธรณีบีบมวยผมเพื่อขับไล่พญามารนั้นเป็นที่แพร่หลาย เฉพาะในแถบไทย ลาว พม่า และ ก้มพูชา อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าคติการบีบมวยผมของพระแม่ธรณีเริ่มต้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีใน
พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นต้นมา ส่วนในประเทศไทยพบหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ทั้งในลักษณะของงานประติมากรรมและจิตรกรรมบนฝ่าผนังของวัด อีกหลักฐานหนึ่งในโคลงของศรีปราชญ์ก่อนถูกประหารที่ได้กล่าว
ถึง "ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน..." แสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องพระธรณีที่ปรากฏใน
สมัยอยุธยา
คาถาบูชาพระแม่ธรณี
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
ตัสสา เกษีสะโต ยะถาคงคา โสตัง ปะวัตตันติ มาระเสนา
ปฏิฐาตุง ปริมานานุภาเวนะ มาระเสนา ปะราชิตา นิโสนิสัง
ป่าลายันติ วิทังเสนติ อะเสสะโต สาธุ สาธุ สาธุ
สังขาตัง โลตังกะวิหู ตันติพุดติง นะโมพุทธายะ นะมะ พะทะ
คำอธิษฐานพระแม่ธรณี
ข้าพเจ้า (บอกชื่อนามสกุล ...) บอกสิ่งที่ปรารถนา จะมีบ้านอยู่ให้ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนจะซื้อจะขายเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ข้าพเจ้ามี จงสมหวังสมปรารถนา หากมีบ้านมีที่อยู่อาศัยแล้ว จงให้แคล้วคลาด จากภัยอันตรายอุทกภัย อัคคีภัย โจรภัย ตลอดจนให้มีความสุข ร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักความสามัคคี เมื่ออยู่ในบ้านเลขที่ ...(บ้านเลขที่ของท่าน).... นั้นจงมีความสุข ความเจริญ จะทำสิ่งใด จงทำมาค้าขึ้น สมดั่งปรารถนา ขอให้บุญแห่งข้าพเจ้าที่สะสมอยู่ในมวยผมของพระแม่ธรณี ที่นำพาข้ามชาติข้ามภพ จงมาเป็นกำลังบุญกุศล บุญราศี เสริมกำลังกาย กำลังสมอง กำลังปัญญา ให้กระทำกิจกรรมอันใด จากนี้เป็นต้นไป เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยธรรรม ไม่งอมือ งอเท้า แล้วไซร้ กำลังบุญที่สะสมในมวยผมพระแม่ธรณี จงเป็นบุญสำเร็จ
บุญนิธิ ให้สำเร็จสมปรารถนา ตั้งแต่บัดนี้ สืบไปเบื้องหน้า...เทอญ

จุดที่ ๙ สักการะขอพรพระประธานองค์ใหญ่บนเขา
บทสวดอิติปิโส เป็นบทสวดมนต์ที่กล่าวถึงคุณสมบัติอันประเสริฐของ
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ที่สั้น ง่ายต่อการสวด
แต่แฝงไปด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง การสวดอิติปิโสเป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้าง
สติ สมาธิ ปัญญา และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อกันว่ายังช่วยป้องกัน
ภยันตรายต่างๆ และส่งเสริมความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
ความหมายของคำว่า "อิติปิโส" มาจากคำว่า "อิติ" แปลว่า "อย่างนั้น" "ปี" แปลว่า
"เป็น" "โส" แปลว่า "เขา" รวมความหมายว่า "เป็นอย่างนั้นแล" หมายถึง
คุณสมบัติอันประเสริฐเหล่านี้ เป็นจริงแท้แน่นอน
บทสวดอิติปิโสควรสวดตอนไหน
บทสวดอิติปิโส สามารถสวดได้ทุกเมื่อที่ต้องการ โดยไม่มีข้อกำหนดเรื่องเวลา
เฉพาะ โดยทั่วไป นิยมสวด ก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย อารมณ์สงบ ผ่อนคลาย
หรือตอนเช้า เริ่มต้นวันใหม่อย่างสดชื่น มีสติ และก่อนทำกิจกรรมสำคัญ เพิ่ม
ความมั่นใจ สร้างพลังใจ หรือในยามเผชิญปัญหา ช่วยให้สงบจิตใจ คิดหาวิวิธี
แก้ไข
บทสวดอิติปิโส
ก่อนท่องบทสวดอิติปิโส ให้ทำสมาธิ ทำจิตให้นิ่ง และกล่าวนะโนฯ ๓ จบ
ต่อด้วยบทสวดอิติปิโส ดังนี้
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญหิติ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลึกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญัญญักเขตตัง โลกัสสาติ

จุดที่ ๑๐ สักการะขอพรพระสีวลี
คาถาบูชาพระสีวสี เป็นหนึ่งในคาถาขอโชคลาภ ขอทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งพระสี
วสี หรือพระสีวลีเถระ นั้น เป็น ๑ ใน ๘๐ พระอสีติมหาสาวกของพระพุทธเจ้า ที่
ได้ทรงยกย่องพระสีวลีเป็นเอตทัคคะในทางที่มีลาภมาก พระคาถานี้ นอกจาก
จะภาวนาเพื่อขอโชคลาภแล้ว ยังมีในเรื่องของการค้าขาย ติดต่อธุรกิจต่างๆ ให้
ราบรื่นอีกด้วย โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ขาย ท่องก่อนนอน ก่อนออกไปขายของเชื่อ
ว่าจะขายดีมีกำไร ทั้งยังใช้ภาวนาเวลาเดินทางเพื่อคุ้มครองอันตรายต่างๆ ด้วย
คาถาพระฉิมพลี หรือ คาถาพระสีวลี
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต ส้มมา สัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะชาลีติฉิมพาลี จะ มหาเถโร
สุวรรณะมามา โภชนะมามา วัตถุวัตถามามา
พลาพลังมามา โภคะมามา มหาลาโภมามา
สัพเพชะนา พหูชะนา ภวันตุเม
สำหรับการสวดนั้น ให้สวดตามกำลังวันเพื่อบูชาคุณพระสีวลี ได้แก่ วันอาทิตย์
๖ จบ วันจันทร์ ๑๕ จบ วันอังคาร ๘ จบ วันพุธ ๑๗ จบ วันพฤหัสบดี ๑๙ จบ วันศุกร์
๒๑ จบ วันเสาร์ ๑๐ จบ ใครที่ได้สวดเป็นประจำจะมีผลช่วยเสริมดวงโชคลาภ
เรียกทรัพย์ ส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองไม่อับจน มีโอกาสพลิกชีวิตได้อย่างน่า
อัศจรรย์
จุดที่ ๑๑ สักการะขอพรหลวงปู่เทพโลกอุดร หรือ หลวงปู่ใหญ่ คือใคร หากท่าน
ใดที่ได้เดินทางขึ้นถ้ำก็จะได้พบเห็นและเข้าไปสักการะองค์ท่านด้านบน
ตำนาน"หลวงปู่เทพโลกอดร" ผู้เป็นบรมครู ของเหล่าสุดยอดเกจิชื่อดัง ในเมือง
ไทย หลวงปู่เทพโลกอุดร หรือ หลวงปู่ใหญ่ เป็นพระภิกษุในตำนาน ซึ่งมีผู้กล่าว
อ้างถึงอย่างมากมาย โดยเชื่อเป็นผู้ที่คอยแนะนำผู้ที่ปฏิบัติธรรมมาหลายยุค
หลายสมัย ตามตำนานเชื่อว่าท่านคือพระอุตรเถระ ที่เดินทางมาเผยแผ่
พระพุทธศาสนาบริเวณดินแดนสุวรรณภูมิ กับพระโสณเถระในสมัยพระเจ้า
อโศกมหาราช เมื่อประมาณพ.ศ. ๒๓๖ หลายคนเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ แต่
ยังไม่ดับขันธ์ ใช้วิธีเจริญฌาน อิทธิบาทสี่ ต่ออายุเพื่อช่วยเหลือพุทธศาสนามา
จนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวเกี่ยวกับพระเทพโลกอุดร มีมาช้านานแล้ว เริ่มต้นในยุคสมัยสุวรรณภูมิ
หริภุญไชย สุโขทัย อยุธยา และ ต้นโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดแต่ขาดการ
ค้นคว้า อย่างจริงจังรู้ในชนกลุ่มน้อยทางเจโตบ้าง ครั้นจะเอาเข้าจริงก็ไม่
สามารถพบเห็นท่าน คล้ายคนหนึ่งเคยเห็นผีแต่หลายคนอยากเห็นบ้างก็ไม่เห็น
จนเกือบเป็นเรื่อง อจิณไตย (คือเรื่องที่ไม่ควรนึกคิด) แต่ก็ไม่ใช่นิยายท่านมัก
อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง สามารถปรากฏได้ในสถานที่ต่างๆไม่จำกัด ทั้งผู้ที่พบเห็นก็
ปราศจากความรู้ว่าเป็นพระเทพโลกอุดรองค์ใดกันแน่เพราะมีอยู่ด้วยกันถึง ๕
พระองค์ และอาจมาในรูปต่างๆ ไม่ซ้ำกัน หรือปรากฏรูปเดิม นั่นเอง
ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงตำนาน ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกหรือหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ แต่อย่างใด
พระคาถาปรารถนาความสำเร็จ ของหลวงปู่ใหญ่เทพโลกอุดร
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
โล กุตตะโร จะมหาเถโร อะหัง วันทามิ ตังสะทา
โอม อุอะมะ นะโมพุทธายะ ยะ ธะ สุมังฯ

จุดที่ ๑๒ ขึ้นถ้ำขอพรปู่ย่า และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
เจริญพุทธมนต์ สวดมนต์เจ็ดตำนาน
ขันธะปะริตตะคาถา (คาถาขันธปริตร)
ตำนานขันธปริตร (วิรูปักเขหิ เม)
ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดตายในเมืองสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายนำความไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะภิกษุ
มิได้แผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ หากแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง
๔ แล้วก็ยังไม่ถูกงูกัดตาย ตระกูลพญางูทั้ง ๔ คือ ตระกูลพญางูชื่อ วิรูปักข์ ๑
ตระกูลพญางูชื่อ เอราบถ ๑ ตระกูลพญางูชื่อ ฉัพยาบุตร ๑ ตระกูลพญางูชื่อ
กัณหาโคตมกะ ๑ ต่อแต่นี้ไป เราอนุญาติให้ภิกษุทั้งหลายแผ่เมตตาจิตไปยัง
ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองป้องกันตน
บทพระบาลีที่มีนามว่า ขันธปริตร เป็นบทสำหรับสาธยายแผ่เมตตาจิต ไป
ยังตระกูลพญางูทั้ง ๔
บทขันธะปะริตตะคาถา
วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปป่ะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี
สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ
ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ
จุดที่ ๑๓ ขอพรสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สถานะปัจจุบันของพระนเรศในสังคมไทย
ไม่เพียงได้รับความนับถือในฐานะวีรกษัตริย์ผู้ยิ่งยงเท่านั้น สมเด็จพระนเรศวร
หรือพระนเรศยังได้รับยกย่องประหนึ่งเทวดาผู้ปกปักรักษาแผ่นดินหรือเทพเจ้า
พระองค์หนึ่ง จะจัดทำเหรียญที่ระลึกหรือกระทั่งดวงตราไปรษณียากรเพื่อยอ
พระเกียรติก็ต้องปลุกเสกและหาฤกษ์ยาม เช่นเดียวกับการบวงสรวงพระบรม
ราชานุสาวรีย์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังปรากฏบทสวดบูชาสมเด็จพระนเรศวร
หลากหลาย แทบไม่แตกต่างจากบทสวดบูชาพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ที่เดียว
บทบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
"อิติจิตตัง เอหิ เทวะตาหิ จะมหาเตโช
นะระปูชิโต โสระโส ปัจจะยา ทิปปะติ
นะเรโส จะ มหาราชา เมตตา จะ กะโรยัง
มหาลาภัง จะทาโส (ต) ถี ภะวันตุเม"
บทสวดข้างต้นคือบทสวดบูชาพระนเรศที่แพร่หลายที่สุด ซึ่งนับเป็นหลักฐาน
ชัดเจนว่าทรงได้รับความเคารพในสถานะที่แตกต่างจากกษัตริย์พระองค์อื่น
กล่าวคือบทสวดดังกล่าวมิใช่บทสวดสรรเสริญวีรกรรมเท่านั้น แต่เป็นบทสวด
เพื่อสรรเสริญพระบารมี และขอให้การแสดงออกซึ่งความภักดีนี้บันดาลโชค
ลาภเป็นทรัพย์สฤงคาร
